วันศุกร์ที่ 8 กรกฎาคม พ.ศ. 2554

วงจรแยกเสียงลำโพง



วงจรแยกเสียงลำโพง

วงจรแยกเสียงลำโพงหรือครอสโอเวอร์ค ทำหน้าที่แยกเสียงลำโพงออกเป็นช่วงๆ ตามความถี่เสียงที่เหมาะสมต่อการทำงานของลำโพงแต่ละตัว ทำให้ลำโพงขับเสียงออกมามีความสมบูรณ์ ชัดเจน นุ่มนวล และความถี่ถูกต้อง โดยไม่เกิดเสียงหักล้างกันหรือเสียงเสริมกัน การกำหนดจุดตัดข้ามความถี่เสียงต้องคำนวณถึงการตอบวนองความถี่เสียงของลำโพง ควรพิจารณาที่ลำโพงเสียงทุ้มเป็นหลัก
วงจรแยกเสียงลำโพงเป็น 2 ทาง แยกเสียงส่งไปลำโพง 2 ช่วงความถี่ คือ ความถี่ต่ำเสียงทุ้ม และความถี่สูงเสียงแหลม แยกวงจรแยกเสียงลำโพงออกไดเป็นออร์เดอร์มี 4 ออร์เดอร์ ออร์เดอร์ที่นิยมใช้งานเป็นแบบออร์เดอร์ที่ 2 ความลาดเส้นกราฟที่จุดตัดข้าม 12 dB/ออกเตฟ ใช้ค่า L, C จัดวงจรอย่างละ 2 ตัว การเลือกค่า L, C มาใช้งานต้องเลือกค่าที่เหมาะสม เพื่อให้วงจรทำงานได้สมบูรณ์
วงจรแยกเสียงลำโพง 3 ทาง แยกเสียงส่งไปลำโพง 3 ช่วง ความถี่ คือความถี่ต่ำเสียงทุ้ม ความถี่กลางเสียงกลาง และความถี่สูงเสียงแหลม ความถี่ที่ใช้ในจุดตัดข้ามความถี่ต้องเลือกให้เหมาะสมกับขนาดเส้นผ่าศูนย์กลางลำโพงเสียงทุ้มการต่อลำโพงเข้ากับวงจรเสียงลำโพง ต้องคำนึงถึงขั้วบวก-ลบ ทั้งของวงจรแยกเสียงและของลำโพง ต้องต่อให้ถูกต้องตรงกัน เพื่อให้การทำงานของลำโพงทุกตัวมีเฟสการทำงานเหมือนกัน
การต่อใช้งานลำโพงหลายตัวมีประโยชน์ในการใช้งานหลายประการ คือ ช่วยให้เกิดทิศทางการแพร่กระจายคลื่นเสียงครอบคลุมในบริเวณที่ต้องการ ช่วยเพิ่มความดังของเสียงที่ขับออกมาจากลำโพงแต่ละตัว สามารถเฉลี่ยภาวการณ์ทำงานให้ลำโพงทุกตัวได้ และช่วยปรับค่าอิมพีแดนซ์ลำโพงให้เหมาะสมกับเอาต์พุตอิมพีแดนซ์ของเครื่องขยายเสียง การต่อลำโพงหลายตัวทำได้ 3 แบบ คือต่ออนุกรมช่วยเพิ่มอิมพีแดนซ์ลำโพงให้สูงขึ้น ต่อขนานช่วยลดอิมพีแดนซ์ลำโพงให้ต่ำลง และต่อผสมช่วยเพิ่มจำนวนการต่อลำโพงได้มากขึ้น
การต่อลำโพงระยะไกลต้องคำนึงถึงสิ่งสำคัญดังนี้ ลำโพงมีอิมพีแดนซ์ต่ำต่อสายได้สั้น ลำโพงมีอิมพีแดนซ์ยิ่งสูงขึ้น สามารถต่อสายได้ยากขึ้น ใช้สายเส้นเล็กความต้านทานของสายสูงต่อสายได้สั้น ใช้สายเส้นใหญ่ใช้ความต้านทานของสายต่ำลงต่อสายยาวมากขึ้น สิ่งที่ต้องเพิ่มในการต่อลำโพงระยะไกลคือไลน์แมตชิ่งทรานส์ฟอร์มเมอร์ แบ่งออกได้ 2 ชนิด คือ ชนิดอิมพีแดนซ์คงที่ และชนิดแรงดันคงที่





ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น